นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสภาอุตสาหกรรม รณรงค์ให้คนไทยทิ้งถุงสะอาดลงในถังเพื่อนำมาใช้อีกครั้งเป็นการลดปริมาณขยะในประเทศส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม ในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน บริเวณอาคารกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ประชาชนสามารถส่งคืนพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use plastics) ผ่านจุดรับคืน (Drop point) ตามสถานที่ต่างๆ ได้ อาทิ หน่วยงานภาครัฐทั้ง 20 กระทรวง และภาคีเครือข่ายความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ซูเปอร์มาเก็ต และร้านสะดวกซื้อ กลุ่มความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน (PPP Plastics) และเครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย (TRBN) โดยขยะพ
ลาสติกที่รวบรวมได้นั้น จะถูกนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล หรือ อัพไซเคิล เพื่อใช้ประโยชน์ใหม่ ตลอดจนเพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆ เช่น นำไปผ่านกระบวนการอัพไซเคิลเป็น “จีวรรีไซเคิล” ซึ่งบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ได้ร่วมกับวัดจากแดง ริเริ่มขึ้น โดยขยะพลาสติกจากโครงการเปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญจะได้รับการนำไปอัพไซเคิล เป็นจีวรรีไซเคิลเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในช่วงเข้าพรรษาปีนี้ หรือนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มอบให้กับมูลนิธิสนับสนุนเค
รื่องมืออุปกรณ์ในการรักษาและช่วยชีวิตสัตว์ทะเล โดยจะวางแผนขยายเครือข่ายและยกระดับการดำเนินงานจัดการปัญหาขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนมากยิ่งขึ้น เช่น การคมนาคมขนส่งของประเทศ โครงข่ายอินเตอร์เน็ต และโทรคมนาคมต่างๆ
เปิดโครงการ “เปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ (เมื่อคุณหมุนเวียน)” เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2563 “TIME FOR NATURE ถึงเวลา....คืนลมหายใจให้ธรรมชาติ”
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยนายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีฯ นำเสนอรายงานการติดตามประเมินผลการรณรงค์ตามนโยบายงดให้ถุงพลาสติกหูหิ้ว โดยสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต อีกด้วย โดยสำรวจกลุ่มประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบการ จากทุกภูมิภาคของประเทศไทย จำนวน 2,164 คน ระหว่างวันที่ 16 เม.ย. – 5 พ.ค. 2563 พบว่า ร้อยละ 99.68 รับรู้ว่ามีนโยบาย “งดให้บริการถุงพลาสติกหูหิ้วฯ” ร้อยละ 94.73 ได้มีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว เช่น ไม่รับถุงพลาสติก พกแก้วน้ำ ไม่ใช้หลอดพลาสติก พกกล่องข้าว ฯลฯ ร้อยละ 91.77 เห็นด้วยให้รัฐบาลดำเนินการตามนโยบาย “งดให้บริการถุงพลาสติกหูหิ้วฯ” ต่อไป ขณะที่ ร้อยละ 76.48 เห็นด้วยกับการออกกฎหมายกำหนดมาตรฐานถุงพลาสติกหูหิ้ว เพื่อช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก และร้อยละ 69.32 ประชาชนและผู้ประกอบการ ไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบาย “งดให้บริการถุงพลาสติกหูหิ้วฯ”
Comments